จัดฟันบางนา: ลักษณะกระดูกขากรรไกร ที่พร้อมสำหรับการฝังรากฟันเทียมลักษณะทางกายภาพ ในการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมนั้นก็คือเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ทันตแพทย์จะต้องทำการตรวจสอบให้ละเอียดเสียก่อน กระดูกขากรรไกร ก็เป็นหนึ่งในกลไลที่ต้องใช้ในการฝังรากฟันเทียม เพราะกระดูกขากรรไกรจะทำงานร่วมกับรากฟันเทียม และใช้ในการรองรับรากฟันเทียม หากมีกระดูกขากรรไกรที่ไม่พร้อม
คำว่าไม่พร้อมในที่นี้ก็คือ มีความหนาแน่นที่ไม่เพียงพอสำหรับรองรับรากฟันเทียม ทันตแพทย์จะต้องทำการพิจารณาให้ผู้เข้ารับการรักษาปลูกกระดูกฟัน ซึ่งกระดูกขากรรไกรที่มีความหนาและพร้อมสำหรับรองรับรากฟันเทียมนั้น เมื่อทันตแพทย์จะทำการสอดเครื่องมือหยั่งลงไปในร่องเหงือก ถ้าไม่เห็นเงาของเครื่องมือสะท้อนขึ้นมาบนเหงือก เหงือกประเภทนี้จะบังสีของโลหะของรากเทียม และส่วนต่อรากเทียม ที่เป็นไทเทเนียมได้ดี
นอกจากนี้เหงือกประเภทนี้มักไม่ค่อยหดตัวหลังทำการผ่าตัด ถือว่ามีความพร้อมในการฝังรากฟันเทียม อย่างไรก็ตาม ลักษณะเหงือกที่มีความหนาแน่น มักจะเป็นแผลเป็นได้ง่ายหลังจากการผ่าตัด รวมทั้งหากต้องทำรากเทียมหลายๆ ซี่ในผู้ป่วยที่มีเหงือกประเภทนี้ ต้องมีความระมัดระวังอย่างสูง ในบางกรณีจำเป็นต้องมีการผ่าตัดเพื่อเสริมความหนาของเหงือกร่วมด้วย ผู้เข้ารับการรักษาที่มีเหงือกประเภทนี้จัดอยู่ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ควรให้ทันตแพทย์ตรวจช่องปากโดยละเอียดก่อนเข้ารับการรักษาจะดีที่สุด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
ส่วนประกอบต่างๆ ของรากฟันเทียม !
การรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมนั้น เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากนวัตกรรมที่ทันสมัย ทำให้การรักษานั้นเรียกว่า ง่ายขึ้นกว่าเดิมหากเทียมกับแต่ก่อน ในการรักษาด้วยการฝังรากฟันเทียมนั้น มีข้อจำกัดหลายอย่างไม่ใช่ว่าใครก็สามารถจะทำได้ เนื่องด้วยการฝังรากฟันเทียมจะต้องมีการผ่าตัดเพื่อจะได้นำรากฟันเทียมฝังลงไปบนกระดูก
จึงต้องมีการคำนึงถึงสุขภาพช่องปาก โรคประจำตัวของผู้เข้ารับการรักษา เพื่อให้การรักษาดำเนินไปอย่างราบรื่นโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ในการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมนั้น ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องทราบก่อนว่า รากฟันเทียมที่จะทำการฝังอยู่ภายในช่องปากของเรานั้น ประกอบด้วยอะไรบ้าง รากฟันเทียมนั้นจะมีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วนที่สำคัญ ก็คือ รากเทียม เดือยรองรับครอบฟัน และสุดท้ายคือครอบฟัน เรามาดูในส่วนของรากเทียมกันก่อน รากเทียม ก็คือ รากฟันเทียมที่ทำมาจาก โลหะไทเทเนียม มีลักษณะคล้ายๆกับรากฟัน และจะฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรที่ใช้รองรับรากฟันเทียม สามารถยึดติดได้อย่างแนบแน่น โดยไม่มีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อ ไม่มีผลกระทบต่อบริเวณช่องปากในส่วนอื่นๆ
ส่วนที่สองคือ เดือยรองรับครอบฟัน เมื่อทันตแพทย์ทำการฝังรากฟันเทียมลงไปบนกระดูกขากรรไกรเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือน เพื่อให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรที่ใช้รองรับรากฟันเทียม ต้องรอให้ทั้งสองส่วนประสานกันอย่างเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นจึงจะใส่เดือยรองรับครอบฟันลงบนรากเทียม เพื่อจะใช้ในการรองรับครอบฟันต่อไป และส่วนสุดท้ายคือครอบฟัน ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ด้านบนของเหงือกบนเดือยรองรับซึ่งจะทำมาจากเซรามิค ที่มีรูปร่างและสีเหมือนฟันธรรมชาติและมีความแข็งแรงทนทาน ใช้ได้ถาวร