อาหารสุขภาพ สำหรับวัยทอง ช่วยลดอาการ ลดเสี่ยงโรค วัยหมดประจําเดือน ควรกินอะไรผู้หญิงทุกคนต้องเจอกับวัยหมดประจำเดือนในช่วงชีวิตของเราอยู่แล้ว ในวัยนี้ประจำเดือนจะเริ่มหยุดและอาจมีอาการแปลกๆ เกิดขึ้นกับร่างกาย และหลังจากที่ประจำเดือนขาดครบ 12 เดือนก็จะถือว่าเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรือวัยทองอย่างแท้จริง
ในช่วงวัยทองแบบนี้ร่างกายของเราจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจมีทั้งทางจิตใจ อารมณ์และร่างกาย ซึ่งการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตอย่างถูกสุขลักษณะจะทำให้การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนนั้นราบรื่นขึ้น และอาจลดปัญหาใดๆ ก็ตามที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ได้
หากเรารู้สึกว่ามีปัญหามากจนกระทบกับการใช้ชีวิต อาจปรึษาแพทย์เพื่อใช้การบำบัดด้วยฮอร์โมนหรือหาแนวทางรักษาอื่นเพื่อให้อาการต่าง ๆ ลดน้อยลง หรืออาจลองใช้วิธีธรรมชาติอย่างการปรับเปลี่ยนอาหารก่อนในขั้นตอนแรก
วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน คืออะไร ?
วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติของผู้หญิงทุกวัน ในวัยนี้ประจำเดือนของเราจะค่อย ๆ น้อยจนสิ้นสุดลงในที่สุด และระบบสืบพันธุ์ก็จะไม่ทำงาน ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 40 - 60 ปีมักมีอาการหมดประจำเดือน ซึ่งในแต่ละคนนั้นก็จะเริ่มเข้าสู่วัยนี้ด้วยอายุที่ไม่เท่ากัน
เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทอง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและอาจทำให้ร่างกายของมีอาการต่างๆ เช่น เหงื่อออกตอนกลางคืน ร้อนวูบวาบ วิตกกังวล และนอนหลับไม่สนิท ซึ่งอาจส่งผลกระทบทางอารมณ์ด้วย
เราสามารถรักษาสุขภาพที่ดีได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารสูงและสมดุล ซึ่งอาหารที่มีประโยชน์เหล่านี้อาจช่วยในการลดอาการวัยทองที่ทำให้ไม่สบายตัวได้
อาการของวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน
อาการต่างๆ ที่ผู้หญิงหลายคนประสบในช่วงวัยทองอาจแตกต่างกันไปในผู้หญิงแต่ละคน ซึ่งอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังนี้
ช่องคลอดแห้ง
ร้อนวูบวาบ
เหงื่อออกตอนกลางคืน
หนาวสั่น
อารมณ์เปลี่ยนแปลง
การเผาผลาญอาหารลดลง
น้ำหนักมากขึ้น, น้ำหนักเพิ่มขึ้น, อ้วนขึ้น
ผมบาง ผมร่วงมากขึ้น
ผิวแห้ง
สูญเสียความแน่นของเต้านม เต้านมหย่อนคล้อย
นอนหลับไม่สนิท นอนไม่หลับ
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
อาหารสุขภาพสำหรับวัยทอง อาหารวัยหมดประจำเดือน วัยทองควรกินวิตามินอะไร ร้อนวูบวาบวัยทองกินอะไร อาหารคนวัยทอง วัยทองกินอะไรให้นอนหลับ อาหารบำรุงผิววัยทอง อาหารสําหรับผู้หญิงวัย50 วัยทองควรดูแลตัวเองอย่างไร
6 อาหารสำหรับวัยทอง
1. ถั่ว
แมกนีเซียมซึ่งมีมากในถั่วนั้นเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการลดความวิตกกังวล ลดอาการนอนไม่หลับ ช่วยลดอารมณ์แปรปรวนและความเศร้า และแมกนีเซียมเองก็ยังถือได้ว่ามีความจำเป็นต่อความแข็งแรงของกระดูก นอกจากนี้ ถั่วยังเป็นแหล่งอาหารที่มีแคลเซียม สังกะสี กรดไขมันโอเมก้า 3 โปรตีน และสารอาหารอื่นๆ ที่ช่วยในการลดอาการวัยทอง
2. บร็อคโคลี
ช่วยในการเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน อุดมไปด้วยแคลเซียม ป้องกันโรคกระดูกพรุน และช่วยเสริมความหนาแน่นของกระดูก นอกจากนี้อาการท้องอืดซึ่งเป็นอาการของวัยหมดประจำเดือนที่พบได้บ่อย การรับประทานบร็อคโคลีก็สามารถช่วยลดปัญหานี้ได้
3. ไข่
ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนมักมีภาวะขาดธาตุเหล็กและวิตามินดี ซึ่งเราสามารถรับประทานไข่ในวัยทองแบบนี้ได้ เนื่องจากไข่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก โปรตีน และวิตามินดี นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและช่วยป้องกันปัญหาน้ำหนักเพิ่มซึ่งพบได้บ่อยในช่วงวัยหมดประจำเดือน
4. ขมิ้น
เครื่องเทศสีเหลืองสดที่เรียกว่าขมิ้นเป็นเครื่องเทศที่มีสรรพคุณดีหลายประการ อย่างอาหารที่ได้ชื่อว่าช่วยต้านการอักเสบที่ดีที่สุดก็คือขมิ้น ซึ่งสารสำคัญที่ช่วยลดปัญหานี้ได้คือเคอร์คูมิน และเนื่องจากมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ขมิ้นจึงสามารถช่วยผู้หญิงในการควบคุมอาการวัยทองต่างๆ ได้ เช่น อาการร้อนวูบวาบและปวดข้อ รวมถึงยังมีความเชื่อกันด้วยว่าขมิ้นสามารถช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด กระตุ้นการย่อยอาหาร และเพิ่มการดูดซึมสารอาหาร
5. ธัญพืช
วิตามิน สารอาหารรอง และใยอาหาร ล้วนมีอยู่มากในธัญพืชแบบไม่ขัดสี อาหารเหล่านี้ให้ประโยชน์กับร่างกายได้อย่างมหัศจรรย์และสามารถช่วยปรับสมดุลและเพิ่มการเผาผลาญอาหาร เมล็ดธัญพืชมีความสำคัญต่อระบบประสาทและอารมณ์ และไฟเบอร์ยังช่วยให้เรามีสุขภาพแข็งแรง การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าการบริโภคธัญพืชเต็มเมล็ดแทนธัญพืชขัดสีสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
6. ผักใบเขียว
แคลเซียมซึ่งจำเป็นต่อการรักษากระดูกให้แข็งแรงและป้องกันโรคกระดูกพรุนสามารถพบได้มากในผักใบเขียว นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระมากมายซึ่งช่วยบรรเทาอาการวัยทองและลดการอักเสบ ผักใบเขียวที่เราแนะนำให้รับประทานเป็นประจำ เช่น ผักโขม คะน้า เคล
วัยหมดประจำเดือนไม่ใช่ความเจ็บป่วย แต่เป็นเพียงช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต และถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นบทต่อไปในชีวิตของเรา เพียงเราใช้ชีวิตให้มีสุขภาพดี ด้วยการพยายามรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพิ่มการออกกำลังกายให้เป็นกิจวัตรประจำวัน และตั้งเป้าดื่มน้ำให้ได้วันละ 8 แก้วขึ้นไป เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ หลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจกระตุ้นอาการวัยทองได้ เช่น อาหารรสจัด การสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์